จากกรณี พ.ท. กรทิพย์ ดาโรจน์ เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ท. พร้อมด้วยชุดปฏิบัติการปราบปรามสำนักงาน ป.ป.ท. จะลงพื้นที่ตรวจสอบการทุจริตเงินสงเคราะห์ผู้มีรายได้น้อย หรือที่เรียกว่า “โกงเงินคนจน” ในพื้นที่จังหวัดนครพนม มีพฤติการณ์ที่ส่อกระทำทุจริตโดยนำเงิน จำนวน 50-100 บาท มอบให้แก่ชาวบ้าน (รายบุคคล) เพื่อเป็นค่าตอบแทนในการให้ปากคำกับเจ้าหน้าที่สำนักงาน ป.ป.ท. แตะตรงไหนเจอตรงนั้น?! “โกงเงินคนจน”ลามถึงนครพนม “ป.ป.ท.” รุดสอบ เหตุพบเบาะแสสำคัญ มัด จนท.กับ ผอ.โรงเรียนบางคน
โดย พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่ พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ระบุว่า หากมีความจำเป็นจะเสนอนายกรัฐมนตรี ใช้มาตรา 44 ในการแก้ปัญหาทุจริตเงินอุดหนุนผู้ยากไร้ว่า คิดว่ายังไม่จำเป็นต้องใช้มาตรา 44 ยังไม่ต้องถึงขนาดนั้น!! บิ๊กฉัตร ยันคำเดิม “โกงเงินคนจน” ระบบจัดการได้ไม่ต้องใช้ ม.44 (รายละเอียด)
ความคืบหน้าล่าสุดกรณีการทุจริตเงิน สงเคราะห์ผู้มีรายได้น้อย และผู้ป่วยเอดส์ของศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง กระทรวงการพัฒนสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ ล่าสุด พันโท กรทิพย์ ดาโรจน์ เลขาธิการ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ได้มีการลงพื้นที่ เพื่อติดตามตรวจสอบการทุจริตดังกล่าวใน จ.นครพนม โดยพบมีผู้เสียหายจำนวน 564 ราย ในพื้นที่ 12 อำเภอ มากที่สุดคือ อ.นาหว้า จำนวน 270 ราย ปัญหาส่วนใหญ่ คือ ถูกเจ้าหน้าที่นำเงินมาจ่ายให้ไม่ครบตามระเบียบ ทั้งที่ในปี 2560 ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จ.นครพนม มีการเบิกจ่ายเงินไปทั้งสิ้น 1.7 ล้านบาท นอกจากนี้ ป.ป.ท.ยังพบว่าที่นครพนม มีการทุจริตเงินผู้พิการ โดยพบว่า มีจ่ายเงินให้ผู้พิการเพียง รายละประมาณ 1,000-2,000 บาทต่อปี ทั้งที่ในเอกสารมีการเบิกจ่ายเงินรายละ 5,000 บาท