กรมรางเร่งแก้ระบบเชื่อมต่อ”สถานีรถไฟฟ้า”เพิ่มความสะดวกทุกกลุ่มผู้โดยสาร

ในภาพอาจจะมี 1 คน, กำลังนั่ง

นายพีรพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวกลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง

 

กรมราง เร่งปรับปรุงสภาพกายภาพสถานีรถไฟฟ้านำร่อง 4 แห่ง เพิ่มระบบเชื่อมต่อเพื่ออำนวยความสะดวกผู้พิการ/ผู้สูงอายุ เตรียมทำ MOU ร่วม กทม.โยธาฯและ หน่วยงานระบบราง พัฒนาระบบเชื่อมต่อเดินทาง “ล้อ ราง เรือ”

 

วานนี้ (19 มิ.ย.63) นายพีรพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวกลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง เป็นประธานการประชุมติดตามความคืบหน้าการดำเนินการปรับปรุงสภาพกายภาพสถานีรถไฟฟ้าและระบบการเชื่อมต่อเพื่อรองรับคนพิการและผู้สูงอายุ โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) และสำนักการโยธา (สนย.) กรุงเทพมหานคร (กทม.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (KT) บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) สมาคมสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย และภาคีเครือข่ายขนส่งมวลชนทุกคนต้องขึ้นได้ (T4A) เข้าร่วม

นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (อขร.) กล่าวว่า ที่ประชุมรับทราบความคืบหน้าการปรับปรุงสภาพกายภาพและระบบการเชื่อมต่อบริเวณสถานีรถไฟฟ้า 4 แห่ง ประกอบด้วย สถานีท่าพระ สถานีสนามไชย สถานีบางหว้า สถานีบางไผ่ จากที่กรมรางได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่สำรวจและดำเนินการปรับปรุงสภาพกายภาพ รวมถึงจัดสิ่งอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงสถานี

พร้อมกันนี้ ขร. ได้เสนอให้มีการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบเชื่อมต่อการเดินทาง “ล้อ ราง เรือ” เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนใช้บริการระบบขนส่งทางรางได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบในหลักการให้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เพื่อบูรณาการการเชื่อมต่อโครงข่ายทางรางทั่วประเทศ โดยหน่วยงานที่ร่วมทำ MOU ประกอบด้วย กระทรวงมหาดไทย กรุงเทพมหานคร กรมโยธาธิการและผังเมือง จังหวัดนนทบุรี KT และกระทรวงคมนาคม ได้แก่ ขร. ทล. ทช. รฟท. รฟม. รฟฟท. ขสมก BTSC BEM ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการขนส่งและระบบการเชื่อมต่อ โดยมอบฝ่ายเลขาจัดทำร่างบันทึกข้อตกลงเสนอที่ประชุมในครั้งต่อไป

นอกจากนี้ ขร. ได้จัดทำร่างบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างกระทรวงคมนาคม และกระทรวงมหาดไทย เพื่อบูรณาการขับเคลื่อนการดำเนินการยกระดับมาตรฐานระบบทางเท้า ทางสัญจร และสิ่งอำนวยความสะดวกในการเชื่อมต่อการเดินทางในหลายรูปแบบ ที่จะสนับสนุนการเข้าถึงระบบสถานีขนส่งสาธารณะทางรางได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมให้ประชาชนผู้ใช้ทางเท้า ทางสัญจร ได้รับความสะดวกและความปลอดภัยในการเดินทางอย่างเท่าเทียม สร้างสรรค์ต้นแบบระบบทางเท้าหน้าเดิน พร้อมทั้งขยายผลการดำเนินการไปยังพื้นที่นำร่องแห่งอื่น ๆ ต่อไป

อย่างไรก็ตาม จากที่รัฐบาลมีนโยบายเร่งรัดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบรางของประเทศ เพื่อการพัฒนาด้านการขนส่ง ลดความสูญเสียพลังงาน และผลักดันการแก้ไขปัญหาด้านความปลอดภัย ลดสถิติอุบัติเหตุจากการขนส่งทางถนน โดยมุ่งพัฒนาระบบการขนส่งทางรางให้เป็นระบบการเดินทางหลักของประเทศ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางของประชาชนอย่างครอบคลุม ซึ่งจำเป็นต้องมีการปรับปรุงสภาพกายภาพของสถานีและระบบการเชื่อมต่อให้ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มผู้พิการและผู้สูงอายุ เพื่อส่งเสริมให้คนทุกกลุ่มสามารถใช้บริการระบบรางได้อย่างเท่าเทียมกัน

 

ในภาพอาจจะมี 2 คน, ผู้คนกำลังนั่ง, ชุดสูท และสถานที่ในร่ม

นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง

 

ในภาพอาจจะมี 1 คน, กำลังนั่ง, ตาราง และสถานที่ในร่ม

 

 

ขอขอบคุณ  https://mgronline.com/business/detail/9630000063517

และ  https://www.facebook.com/pg/DRT.OfficialFanpage/posts/?ref=page_internal

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *