ปกติแล้วแขนขาเทียมที่ออกแบบสร้างด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง ผู้พิการสูญเสียแขนหรือขาจะสามารถใช้งานด้วยการควบคุมจากไมโครชิปเซ็นเซอร์ของปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence-AI) แต่เทคโนโลยีขั้นสูงดังกล่าวก็มีราคาแพง และผู้ใช้งานต้องใช้เงินจำนวนไม่น้อยในการจัดหามาใช้ ทำให้อุปกรณ์แขนขาเทียมเหล่านี้ไม่สามารถเข้าถึงผู้พิการจำนวนมาก โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา เพราะอุปสรรคทางด้านราคา
แต่เมื่อเร็วๆนี้มีข่าวดีสำหรับผู้พิการขาเมื่อวิศวกรของสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเสตต์หรือเอ็มไอที (Massachusetts Institute of Technology-MIT) ในสหรัฐอเมริกา ได้พัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของเท้าเทียม โดยการใช้อัลกอริทึมทางพันธุกรรม (genetic algorithm) เป็นเทคนิคทั่วไปจะช่วยในการเลือกรูปแบบที่ไม่เอื้ออำนวยเพื่อหารูปแบบที่เหมาะสมที่สุด สร้างเท้าเทียมแบบเรียบง่ายไม่ต้องมีการวัดค่าทางคอมพิวเตอร์ให้ซับซ้อน แต่สามารถปรับรูปร่างและความแข็งของเท้าเทียมให้เหมาะกับแต่ละบุคคลได้ เรียกว่าสมดุลทั้งน้ำหนักและขนาดของร่างกายของผู้ใช้งาน โดยการก้าวเดินก็จะมีความเป็นธรรมชาติอีกด้วย
ทีมงานเผยว่า ความพยายามที่จะกำหนดรูปร่างของขาเทียมเพียงชิ้นเดียวให้เหมาะกับแต่ละบุคคลนั้น เป็นเรื่องง่ายและผลิตออกมาด้วยราคาไม่แพง ซึ่งนักวิจัยได้วางแผนที่จะทดสอบการใช้ขาเทียมดังกล่าวกับอาสาสมัครในประเทศอินเดียช่วงฤดูใบไม้ผลินี้.
ขอบคุณ… https://www.thairath.co.th/content/1328093