โควิด-19: ช่างภาพอิตาลีตามบันทึกอุปสรรคของคนตาบอดในโลกที่ต้องรักษาระยะห่าง

A blind woman stands with her walking cane whilst wearing a face mask and gloves

 

สเตฟาโน สบรูลี ช่างภาพชาวอิตาลี ตามบันทึกภาพความยากลำบากที่ผู้พิการทางสายตาต้องเผชิญขณะปรับตัวใช้ชีวิตในโลกยุคโควิด-19 ที่ต้องรักษาระยะห่างทางสังคม

 

อิตาลีเป็นประเทศหนึ่งที่เผชิญกับวิกฤตโควิด-19 หนักและนานที่สุดในโลก

 

นี่คือภาพและเรื่องราวของผู้พิการทางสายตาบางส่วนที่สบรูลีได้ไปเจอมาระหว่างเดือน มี.ค. ถึง มิ.ย.

 

ลูซิลลา อายุ 55 ปี

A lady stands in a field with a dog on a lead next to a residential

 

ลูซิลลา เป็นประติมากรและอาจารย์สอนประวัติศาสตร์ศิลปะ

 

“ฉันมักจะนับก้าวเอาเวลาไปไหนมาไหน เพราะฉะนั้นถ้าคุณเปลี่ยนแปลงอะไรระหว่างทาง ฉันจะหลงทาง”

 

เธอบอกว่ายังไม่ได้ออกไปซื้อของ มีการเปลี่ยนแปลงทางเข้า-ออกที่สถานีรถไฟใต้ดินที่เธอใช้ และนี่จะทำให้เธอเดินทางยากลำบากมากขึ้น

 

ลอเรนโซและฟรานเชสโก ฝาแฝดวัย 13 ปี

Two twin boys sit indoors next to a window

 

ลอเรนโซชอบตีกลอง ส่วนฟรานเชสโกชอบร้องเพลง แต่หลังการล็อกดาวน์ พวกเขาก็ไม่ได้ไปเรียนดนตรีอีกเลย

 

ฝาแฝดคู่นี้ตาบอดทั้งคู่และมักจะนั่งเล่นและร้องเพลงกันจนพระอาทิตย์ตกดิน

 

นอกจากไม่ได้ทำกิจกรรมที่โรงเรียนแล้ว ครูผู้คอยช่วยเหลือพวกเขาเป็นพิเศษก็ไม่สามารถมาหาที่บ้านได้ ต้องอาศัยแม่และยายช่วยเหลือแทน

 

พวกเขาไม่สามารถใช้ชีวิตอย่างเป็นอิสระได้ และการเว้นระยะห่างทางสังคมอาจทำให้พวกเขาแปลกแยกจากสังคมมากขึ้น

 

แอนนา ยายของพวกเขา บอกว่าหลาน ๆ ควรเป็นกลุ่มคนที่ได้รับการดูแลเป็นอันดับแรก ๆ ไม่ใช่เป็นกลุ่มสุดท้าย

 

ซิโมนา อายุ 35 ปี

A blind woman stands with her walking cane whilst wearing a face mask and gloves

 

ซิโมนา เคยใช้ชีวิตอย่างอิสระไม่เคยต้องพึ่งใคร เธอออกจากบ้าน ไปทำงาน ไปหาเพื่อนได้อย่างสบายใจ

 

แต่ตอนนี้ เธอไม่ได้ออกไปไหนมาหลายเดือนแล้ว

 

“ฉันต้องบอกเลยว่าความคิดเรื่องจะออกจากบ้านทำให้ฉันรู้สึกวิตกกังวล” ซิโมนาเล่า

 

เธอกลัวว่าจะหลงทางเพราะว่าตอนนี้ทางเข้า-ออกสถานีรถไฟใต้ดินที่ใช้อยู่ถูกปรับเปลี่ยนไปหมดตามมาตรการรักษาระยะห่างทางสังคม

 

เอตโตเร อายุ 50 ปี

A man sits in front of a window whilst holding a cat in his lap

 

เอตโตเรมีความพิการทางสายตาบางส่วน แต่ก็สามารถพึ่งตัวเองได้อย่างสมบูรณ์ เขาทำงานเกี่ยวกับบริการดูแลคนที่มีความพิการในแบบเดียวกับเขา

 

นอกจากความรู้สึกโดดเดี่ยวแล้ว เอตโตเรบอกว่าเขาพอรับมือกับการล็อกดาวน์ได้

 

แต่ตอนนี้เริ่มมีอุปสรรคเวลาไปซื้อของ เขาต้องใช้เวลานานเวลามองหาว่าจะซื้ออะไร หรือการดูวันหมดอายุ และราคา และกังวลว่าคนจะกดดันให้เขาทำอะไรให้เร็วขึ้น

 

นอกจากนี้ การใช้หน้ากากอนามัยยังทำให้แว่นตาเขาเป็นฝ้าด้วย และการใช้ถุงมือก็ยิ่งทำให้ทำอะไรไม่ค่อยถนัดเหมือนเก่า

 

มัตเตโอ อายุ 32 ปี

A portrait of a blind man wearing a face mask

 

โดยปกติแล้ว มัตเตโอนั่งรถบัสไปออฟฟิศทุกวัน เขาอาศัยอยู่กับพ่อแม่และพี่ชายสองคนในบ้านหลังเล็ก ๆ

 

การล็อกดาวน์ทำให้ทุกอย่างยุ่งยากไปหมด การทำงานจากบ้านทำให้เขาต้องอยู่ในที่แคบ ๆ ตลอดเวลา

 

เขาอยากจะกลับไปทำงานที่ออฟฟิศให้เร็วที่สุด

 

มาร์โ อายุ 31

A man sits on his sofa with his guide dog

 

มาร์โก พิการทางสายตาบางส่วน

 

เขาชอบเล่นกีฬา และได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนอิตาลีในการแข่งขันเซิร์ฟคนพิการในรายการแข่งขันชิงแชมป์โลกที่แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา แต่แล้วก็เกิดการระบาดใหญ่

 

เขาใช้ชีวิตแบบไม่ต้องพึ่งใครโดยมีสุนัขนำทางคอยช่วย

 

แต่ในช่วงล็อกดาวน์ เขาไม่สามารถพาสุนัขไปออกกำลังกายในสวนสาธารณะได้

 

“สุนัขนำทางต้องสุขภาพแข็งแรง เพราะถ้ามันป่วย มันก็ไม่สามารถช่วยผมได้”

 

แอนเจลินา อายุ 90 ปี

A blind woman poses for a portrait against a pink wall

 

แอนเจลินา อาศัยอยู่ในบ้านพักคนชรา

 

การมีญาติมาเยี่ยมทำให้เธอมีความสุข แต่ตอนนี้มีการจำกัดจำนวนคนและเวลาในการเยี่ยมเพื่อป้องกันการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่

 

อารีอานา อายุ 31 ปี และสเตฟาโน อายุ 45 ปี

A man and a woman hold hands

 

อารีอานา ตาบอด ส่วนสามีของเธอ สเตฟาโน พิการทางสายตาบางส่วน พวกเขาจับมือกันเสมอและมีสุนัขนำทางคอยช่วยเหลือ

 

หลังจากเกิดการระบาดใหญ่ พวกเขาต้องย้ายไปอยู่บ้านแม่ของอารีอานา

 

อารีอานาบอกว่า ผลดีอย่างหนึ่งของการระบาดใหญ่คือ ต่อไปนี้ ความกังวลเรื่องติดเชื้อน่าจะทำให้คนเดินอย่างระมัดระวังไม่มาชนพวกเขาแล้ว และไม่เล่นกับสุนัขนำทางเธออีก

 

แอนโทนี อายุ 31 ปี

A man stands in the street

 

แอนโทนี ตาบอดมา 9 ปีแล้ว เขาคิดถึงแฟนสาวที่อาศัยอยู่อีกฟากหนึ่งของเมือง

 

เขาสามารถใช้ไม้นำทางได้ดี และรักษาระยะห่างจากคนได้

 

“แต่มันจะยุ่งยากเมื่อผมต้องการความช่วยเหลือ หรือต้องให้ใครสักคนนำทาง”

 

เขาหวังว่าคนที่ต้องพบเจอในแต่ละวันต่อจากนี้จะมีความเข้าอกเข้าใจในสถานการณ์ของเขา

 

 

ขอขอบคุณ  https://www.bbc.com/thai/international-53479414

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *