“กรุงเทพโพลล์” เผยภาวะการเงินคนไทยปี 63 รายได้พอแค่เดือนชนเดือน ไม่เหลือเก็บออม

 

กรุงเทพโพลล์ เผยผลสำรวจ สภาวะการเงินคนไทยปี 63 ร้อยละ 41.4 มีรายได้แบบเดือนชนเดือน ไม่พอเก็บออม ร้อยละ 28.3 มีรายได้ไม่เพียงพอต้องหยิบยืม/กู้เงิน ร้อยละ 61.3 ระบุว่า ปัจจัยที่ทำให้มีเงินออมลดลง/ไม่พอเก็บออม/รายได้ไม่เพียงพอ มาจากข้าวของเครื่องใช้ประจำวัน มีราคาแพงขึ้น ร้อยละ 81.7 เลือกใช้วิธีใช้จ่ายให้ประหยัดขึ้น และคิดก่อนซื้อ เพื่อให้มีเงินเพียงพอ

 

กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้สำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “สภาวการณ์ทางการเงินของคนไทย ในปี 2563” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,221 คน พบว่า ภาพรวมทางการเงินของคนไทยในปีนี้ ร้อยละ 41.4 ระบุว่า มีรายได้แบบเดือนชนเดือน ไม่พอเก็บออม รองลงมาร้อยละ 28.3 ระบุว่า มีรายได้ไม่เพียงพอต้องหยิบยืม/กู้เงิน และ ร้อยละ 17.6 ระบุว่า มีรายได้เพียงพอ แต่มีเงินออมลดลง

 

ส่วนปัจจัยที่ทำให้มีเงินออมลดลง/ไม่พอเก็บออม/รายได้ไม่เพียงพอในปัจจุบัน นั้น ส่วนใหญ่ร้อยละ 61.3 ระบุว่า ข้าวของเครื่องใช้ประจำวัน มีราคาแพงขึ้น รองลงมาร้อยละ 36.8 ระบุว่า ต้องผ่อนรถ/ผ่อนบ้าน และ ร้อยละ 29.3 ระบุว่า มีลูกค้าน้อยลง ธุรกิจแย่/ค้าขายไม่ดี

 

สำหรับวิธีจัดการ/ปรับวิธีใช้จ่ายเงินเพื่อให้มีเงินหมุนเวียนในการใช้จ่ายท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน นั้น ส่วนใหญ่ร้อยละ 81.7 ระบุว่า ใช้จ่ายให้ประหยัดขึ้น และคิดก่อนซื้อ รองลงมา ร้อยละ 55.7 ระบุว่า ใช้วิธีลดการทานอาหารนอกบ้าน ลดปริมาณการท่องเที่ยว และร้อยละ 22.7 ระบุว่า ใช้วิธีหารายได้พิเศษ เช่น ขายของออนไลน์ ขายของตลาดนัด ขับรถส่งสินค้า ฯลฯ

 

ทั้งนี้ เมื่อถามว่า “ในสภาวการณ์แบบนี้ หากต้องคงไว้ซึ่งค่าใช้จ่ายที่จำเป็น ท่านจะคงหมวดใดไว้มากที่สุด” โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 80.8 ระบุว่า หมวดค่าสาธารณูปโภคต่างๆ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์ รองลงมาร้อยละ 73.3 ระบุว่า หมวดค่าอาหาร เครื่องใช้ต่างๆ และร้อยละ 43.8 ระบุว่า หมวดค่าการศึกษาของตนเองและบุตรหลาน

 

โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้

 

1. ภาพรวมทางการเงินของท่านในปีนี้เป็นอย่างไร

มีรายได้แบบเดือนชนเดือน ไม่พอเก็บออม ร้อยละ 41.4
มีรายได้ไม่เพียงพอต้องหยิบยืม/กู้เงินร้อยละ 28.3
มีรายได้เพียงพอ แต่มีเงินออมลดลงร้อยละ 17.6
มีรายได้เพียงพอ มีเงินออมตามเป้าทุกเดือนร้อยละ 12.7

 

2. ปัจจัยใดที่ทำให้มีเงินออมลดลง/ไม่พอเก็บออม/รายได้ไม่เพียงพอในปัจจุบัน (เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

ข้าวของเครื่องใช้ประจำวันมีราคาแพงขึ้นร้อยละ 61.3
ต้องผ่อนรถ/ผ่อนบ้านร้อยละ 36.8
ลูกค้าน้อยลง ธุรกิจย่ำแย่/ค้าขายไม่ดีร้อยละ 29.3
มีค่าใช้จ่ายเพิ่มในการดูแลผู้สูงอายุ คนป่วย คนพิการ ร้อยละ 26.0
ตนเอง/คนในครอบครัวตกงาน/ถูกเลิกจ้างร้อยละ 21.4
พืชผลทางการเกษตรเสียหาย/ราคาตกร้อยละ 20.6
ถูกลดเงินเดือน/ลดโอที/ลดวันทำงานร้อยละ 15.1
ผ่อนสินค้า/ผ่อนบัตรเครดิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.7
มีค่าเดินทางแต่ละวันเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.8
จ่ายดอก จ่ายหนี้นอกระบบเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2
ถูกโกงเงิน/ถูกเบี้ยวเงินร้อยละ 6.1

 

3. วิธีจัดการ/ปรับวิธีใช้จ่ายเงินเพื่อให้มีเงินหมุนเวียนในการใช้จ่าย ท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน
(เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 

ใช้จ่ายประหยัดขึ้น คิดก่อนซื้อร้อยละ 81.7
ลดการทานอาหารนอกบ้าน ลดปริมาณการท่องเที่ยวร้อยละ 55.7
หารายได้พิเศษ เช่น ขายของออนไลน์ ขายของตลาดนัด ขับรถส่งของ ฯลฯ ร้อยละ 22.7
กู้เงินนอกระบบ/ในระบบร้อยละ 15.7
ลดการสต็อกสินค้าไว้ขาย เพราะลูกค้าลดลงร้อยละ 6.9
ลงทุนทำธุรกิจระยะสั้นที่ได้ผลตอบแทนสูงร้อยละ 3.9
ใช้จ่ายปกติ ตามเดิม ไม่ได้ทำอะไรเพิ่มเติมร้อยละ 11.8

 

4. ในสภาวการณ์แบบนี้หากต้องคงไว้ซึ่งค่าใช้จ่ายที่จำเป็น ท่านจะคงหมวดใดไว้มากที่สุด
(เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 

ค่าสาธารณูปโภคต่างๆ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์ร้อยละ 80.8
ค่าอาหาร เครื่องใช้ต่างๆร้อยละ 73.3
การศึกษาของตนเอง และ บุตรหลานร้อยละ 43.8
ค่าผ่อนบ้าน/ผ่อนรถร้อยละ 35.2
ประกันสุขภาพ ประกันชีวิตร้อยละ 27.5
ค่าเดินทางร้อยละ 25.8
ค่ารักษาพยาบาลร้อยละ 18.7
อื่นๆ อาทิ ค่าชำระหนี้ ค่าผ่อนสินค้า ค่าต้นทุนในการผลิตสินค้า ฯลฯ ร้อยละ 2.0

 

 

ขอขอบคุณ  https://mgronline.com/onlinesection/detail/9630000117637

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *