คนพิการทางสายตากับสุนัขนำทาง : Guide Dogs

กว่าจะมาเป็นสุนัขช่วยเหลือคนพิการ

 

 

สุนัขนำทาง หรือ สุนัขรับจ้าง คือสุนัขที่ถูกฝึกเป็นพิเศษสำหรับนำทางให้แก่คนพิการทางสายตาหรือคนที่มีความผิดปกติอื่นๆ สุนัขนำทางจะสงบนิ่งและตั้งใจทำหน้าที่อย่างจริงจังตลอดเวลา แต่จริงๆแล้วสุนัขนำทางรู้ความแตกต่างระหว่างเวลางานกับเวลาที่ไม่ได้ทำงาน พวกมันถูกฝึกมาอย่างดีและรู้หน้าที่มาก มันรู้ว่าเมื่อสายจูงนั้นถูกถอดออก มันก็เป็นสุนัขธรรมดาตัวหนึ่งที่ขี้เล่นและซุกซน

สุนัขนำทางมีหน้าที่หลายอย่างทั้งคอยฟังเสียงต่างๆที่อาจเป็นอันตราย คาบสิ่งกีดขวางออกจากทางเดิน นำทางเจ้าของข้ามถนนและหลบหลีกสิ่งกีดขวางเพื่อไปยังสถานที่ต่างๆ รวมถึงปกป้องจากสุนัขจรจัดตัวอื่นๆ และสิ่งที่จะเข้ามาทำร้ายด้วย

ประเภทสุนัขนำทาง

  1. ช่วยเหลือคนพิการทางสายตา (Guide Dog) มีหน้าที่คอยนำทาง พาขึ้นรถ ลงเรือ ข้ามถนน นำทางรถเข็นเวลาซื้อของ ป้องกันอันตรายจากการเดินทาง
  2. ช่วยเหลือคนพิการทางการได้ยิน (Hearing Dog) มีหน้าที่คอยเตือนให้เจ้าของรู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้น เช่น เสียงออด เสียงเตือนภัย เสียงคนเรียกชื่อเจ้าของ เสียงทารก ร้องไห้ ซึ่งสุนัขเหล่านี้จะสามารถแยกแยะออกว่าเสียงไหนคือเสียงเตือน เสียงเรียก หรือเสียงรบกวนทั่วไปที่ไม่จำเป็นต้องสนใจ
  3. ช่วยเหลือคนพิการทางร่างกายขาหรือแขน (Service Dog) มีหน้าที่อำนวยความสะดวกหยิบสิ่งของ เปิดตู้เย็น เปิด – ปิด ประตู นำทารถเข็น เปิด – ปิดไฟ เปิดลิ้นชัก คอยเป็นขาที่ 3ให้แก่คนที่มีปัญหาการทรงตัว นอกจากนี้ยังสามารถเป็นสุนัขที่คอยดูแลผู้ป่วยทั้งทางกาย ทางใจ และเด็กออทิสติกในโรงพยาบาลได้

คุณสมบัติของสุนัขนำทาง

  • สามารถควบคุมอารมณ์และความรู้สึกไม่มั่นคงต่อผู้คน สัตว์อื่นๆ รวมไปถึงสถานการณ์ หรือสิ่งแวดล้อมต่างๆได้ ไม่ตกใจ ข่มขู่ผู้คน หรือหวั่นกลัว
  • สามารถอยู่ภายใต้คำสั่งได้ตลอด 24 ชัวโมง เข้าใจทั้งคำสั่งเสียง คำสั่งภาษามือ หรือทั้ง 2 ภาษา
  • สามารถอยู่ในรถสาธารณะ เช่น รถไฟ รถประจำทาง เครื่องบินได้อย่างสงบ สามารถนั่งรอให้ถึงเวลาขึ้น – ลงพาหนะต่างๆได้ รอจนเจ้าของออกคำสั่งให้ไป ไม่นำเจ้าของเพราะอาจทำให้เกิดอันตรายหรืออุบัติเหตุได้ในกรณีสุนัขนำทางคนตาบอด โดยจะต้องรู้ว่าหยุดตอนไหน เดินไปยังทิศทางใด พร้อมกับสามารถป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นได้โดยเฉพาะตอนข้ามถนน
  • สามารถอยู่บนท้องถนนที่มีเสียงดังรบกวนได้อย่างสงบ ผ่อนคลาย ไม่ตื่นตกใจกับเสียงแตรรถ รวททั้งไม่ถูกหันเหความสนใจจากสิ่งเร้ารอบข้าง
  • สามารถแยกเสียงเตือนภัยออกจากเสียงรบกวนทั่วๆไปได้
  • สามารถจำชื่อเจ้าของได้ เมื่อมีคนเรียกชื่อเจ้าของสำหรับคนพิการทางการได้ยิน สุนัขสามารถเตือนเจ้าของให้รับรู้ได้ รวมทั้งสามารถช่วยอำนวยความสะดวกหยิบข้าวของตามคำสั่งให่แก่คนพิการทางร่างกายได้
ต้องผ่านบททดสอบอะไรบ้าง
          การทดสอบให้อยู่ในที่สาธารณะ (A Public Access Test) เพื่อดูว่าสุนัขมีความสามารถควบคุมรับมือกับสถานการณ์สิ่งแวดล้อมต่างๆได้ เช่น ยืนอยู่ข้างถนนที่มีรถจำนวนมากได้ไหม อยู่ในที่เปิด เช่น งานแฟร์ สวนสาธารณะได้หรือไม่ สุนัขต้องสามารถอยู่ในที่สาธารณะได้โดยไม่มีสายจูงเผื่อไว้ในกรณีที่สายจูงหลุด เป็นต้น
          การทดสอบการช่วยเหลือคนพิการทาางร่างกายโดยเฉพาะสุนัขช่วยเหลือ (Service Dogเช่น นั่งคอยในห้างสรรพสินค้าแม้จะมีคนมาเล่นกับสุนัข สุนัขนั้นก็ยังสามารถนั่งนิ่งไม่กระโดดตื่นเต้นดีใจเมื่อมีคนมาทัก หรือสามารถนั่งใต้โต๊ะอาหารนิ่งๆได้เป็นเวลานาน แม้จะมีคนแอบโยนอาหารให้ก็ตาม รวมทั้งสามารถเปิด – ปิดประตู หยิบของตามคำสั่ง
          การทดสอบการนำทางโดยเฉพาะสุนัขนำทางคนพิการทางสายตา (Guide Dog) เพื่อดูว่าสุนัขสามารถนำทางได้อย่างปลอดภัยเมื่อมีสิ่งกีดขว้าง เช่น ทดสอบการข้ามถนน การมีสมาธิไม่วอกแวก กล้าตัดสินใจ เป็นต้น
          การทดสอบการได้ยินโดยเฉพาะสุนัขดูแลคนพิการทางการได้ยิน (Hearing Dog) เพื่อดูการเตือนภัย การตอบสนองรับขานชื่อของเจ้าของ สามารถแยกแยะได้ว่าเสียงประเภทไหนเป็นเพียงเสียงรบกวนทั่วไป เสียงใดเป็นเสียงเตือนภัย เช่น ดูปฏิกิริยาเมื่อได้ยินเครื่องดูดฝุ่นกับเสียงกริ่งไฟไหม้ ทดสอบปฏิกิริยาการตอบสนองเมื่อเรียกชื่อเจ้าของ เป็นต้น

ต้องได้รับการรับรองจากที่ใด

          เมื่อผ่านการทดสอบจะได้ใบรับรองเป็นประกาศนียบัตรจากหน่วยงาน  Dog Certification of America หรือจาก Nation Service Animal Registry (NSAR) ประเทศสหรัฐอเมริกา รวมไปถึงอีกหลายหน่วยงานที่มีอำนวยในการทดสอบและออกใบรับรองให้แก่สุนัขช่วยเหลือ ซึ่งส่วนใหญ่ในหลายประเทศการที่จะเป็นสุนัขช่วยเหลือได้จะต้องมีใบรับรอง เพื่อเป็นการแสดงสิทธิ์ว่าสุนัขเหล่านี้สามารถเข้าไปในเขตสาธารณะหรือสถานที่ซึ่งไม่อนุญาตให้นำสัตว์เลี้ยงเข้าไปได้
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก http://ssguidedogs.blogspot.com/p/1_2.html

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *