ทำไมต้องเว้นระยะห่างให้เพียงพอ ขณะขับรถ ?

การขับรถให้ปลอดภัย ต้องเว้นระยะให้ห่างเพียงพอ สิ่งสำคัญที่สุด คือ การรักษาระยะห่างจากคันหน้า แต่ไม่ใช้เว้นระห่างเสียจนน่าเกลียด จนรถคันหลังอึดอัด!!! มาดูกันว่า ทำไมต้องเว้นระยะห่างเพียงพอ ? ตอบง่ายๆ ได้เลย ก็เพราะเราไม่สามารถเริ่มเบรคได้พร้อมคันหน้า และอาจจะเบรคได้ไม่ดีเท่าคันหน้าด้วย ทันทีที่คันหน้าเบรค ความเร็วก็จะลดลงทันที แต่รถของเรายังเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ มันก็จะพุ่งเข้าใส่คันหน้า ในระหว่างที่ตาเราเริ่มเห็นไฟเบรคติด สมองรับรู้ และตัดสินใจว่าต้องเบรคด้วย มิฉะนั้นจะชนท้ายรถนั้นสมองสั่งมาที่กล้ามเนื้อขา แล้วก็ยังต้องใช้เวลาในการยกเท้าจากคันเร่งมาที่แป้นเบรค แล้วเหยียดขาเพื่อให้เท้ากดแป้นเบรค กดไปแล้วก็กินเวลาช่วงหนึ่ง กว่าที่ผ้าเบรคจะถูกอัดกับจานเบรคแล้วเริ่มมีแรงเบรค ในช่วงเวลาทั้งหมดนี้ รถของเราจะขับเข้าไปใกล้ท้ายคันหน้าตลอด ถ้าระยะเวลาที่เราเตรียมไว้ซึ่งคือการเว้นระยะห่างไว้น้อยกว่าที่ใช้ ก็ได้เรื่องในการโทรเรียกพนักงานจากบริษัทประกันภัย และก็อาจทำให้คนหลายร้อยคนที่ร่วมใช้ถนนเดือดร้อนไปด้วย ยิ่งเกิดอุบัติเหตุระหว่างฝนตกหนักๆ ไปกันใหญ่เลย

ตามมาตรฐานสากลที่ให้ความปลอดภัยสูงสุด กำหนดระยะห่างจากท้ายคันหน้าด้วยค่าความเร็วที่ขับตามกันไว้ที่ครึ่งหนึ่งของความเร็วที่มีหน่วย กม./ชม. แล้วใช้หน่วยความยาวเป็นเมตร เช่น ขับตามหลังคันหน้าด้วยความเร็ว 100 กม./ชม. ควรเว้นระยะห่าง 50 เมตร แต่ในสภาพการจราจร และพฤติกรรมการขับขี่ ลดลงอีกครึ่งก็ยังดี และถ้าสถานการณ์บังคับก็พอยอมให้เหลือ 1 ใน 4 ได้ ซึ่งที่จริงไม่ใช่ระยะที่ปลอดภัยแล้ว แต่ก็ยังดีกว่าที่ใช้กันอยู่แค่ 1 ใน 10 เพราะฉะนั้น จากตัวอย่างเดิม ระยะห่างที่ควรเว้นที่ความเร็ว 100 กม./ชม. คือ 50 เมตร ถึง 30 เมตร โดยประมาณ
ฉะนั้นมาดูกันเลยว่า การขับรถให้ปลอดภัยและไม่กีดขวางทางผู้อื่นต้องปฏิบัติอย่งไร ? การขับรถให้ปลอดภัยนั้นผู้ขับขี่ควรทิ้งระยะห่างจากรถคันหน้าพอสมควร เนื่องจากบางครั้งในสภาวะอากาศที่ไม่ปกติ อาจจะเกิดอุบัติเหตุได้ตลอดเวลา การทิ้งระยะห่างจากคันหน้าจะสามารถทำให้เราเตรียมพร้อมสำหรับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด เมื่อมีเหตุฉุกเฉิน ได้เสมอ
แต่ถ้าหากคุณขับรถทิ้งระยะมากเกินไปนั้น รถคันหลังจะพยายามแซงคุณขึ้นมา เพิ่มโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุให้ผู้อื่นอย่างไม่รู้ตัว เพราะอุบัติเหตุบนท้องถนนกว่า 80% นั้น เกิดจากพฤติกรรมการใช้ถนนที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งกว่า 11 % มาจากการแซงซ้าย เหตุผลที่กฎหมายระบุว่าห้ามแซงซ้าย เพราะหากทิ้งระยะห่างคันหน้าอย่างเหมาะสม คงไม่มีผลอะไรมากนัก เนื่องจากทัศนวิสัยทั้งซ้าย-ขวาเอื้ออำนวย แต่หากขับชิดคันหน้ามากเกินไป จะทำให้การมองเห็นรถทางฝั่งซ้ายลดลงไปมากเท่านั้น และหากผู้ขับขี่ขับเบียดเลนซ้ายเพื่อเร่งแซง อาจทำให้เกิดการเฉี่ยวชนรถที่จอดอยู่ก็เป็นได้ ด้วยเหตุนี้ การแซงขวาจึงมีความปลอดภัยกว่า นอกจากนั้นแล้วการแซงซ้าย ยังมีความผิด พรบ.จราจรทางบก ปี 2522 หมวด 2 มาตรา 45 ระบุว่า ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ ขับรถแซงหน้ารถคันอื่นด้านซ้ายอีกด้วย
เห็นอย่างนี้แล้ว ยังมีใครที่จะขับเว้นระยะมากๆ กันอยู่ทำไม? มาดูตัวอย่าง
-บางคนคิดว่าขับเร็วตามกฎหมายกำหนดแล้ว จึงคิดเข้าข้างตัวเองว่าทำถูกกฎ คันที่เร็วกว่าคือผิดกฎ อาจทำให้ผู้ที่ตกอยู่ในสถานการณ์เร่งด่วนจริงๆ ต้องเดือดร้อน เช่น รีบไปโรง
-บางคนไม่มองกระจกหลังเลย เนื่องจากปรับเบาะชิดพวงมาลัยมากเกินไป ทำให้มองกระจกหลังไม่สะดวก จึงเลือกที่จะไม่มอง (ซะงั้น?) ทางแก้สำหรับผู้ขับขี่ที่มีรูปร่างเล็ก หากกลัวว่าจะมองหน้ารถไม่ถนัด ก็ให้ปรับเบาะให้สูงขึ้น และปรับระดับพวงมาลัยให้พอดี เพื่อจะได้มองเห็นการจราจรได้รอบคัน

[ขับนั่งชิดพวงมาลัยเกินไป ไม่ดียังไง > คลิก http://goo.gl/oEBWpN ]

เรามีวิธีแก้…

  • ถ้าเราเป็นคนที่ขับรถช้า ทางแก้ง่ายๆ คือ เร่งความเร็วตามคันหน้า เว้นระยะพอดีๆ แต่หากรู้สึกว่าเร็วเกินไป ก็เปลี่ยนมาใช้เลน ที่อยู่ทางซ้ายมือ ก็แค่นั้น
  • ถ้าขับตามหลังคันที่ขับช้า อาจกระพริบไฟสูง หรือกดแตรเบาๆ อย่างสุภาพ แต่หากไม่หลบ เราก็เปลี่ยนช่องจราจรเองเสียเลยดีกว่า ไม่เสียอารมณ์ด้วย
  • การขับช้าขวางเส้นทาง ผิดพรบ.การจราจรทางบก มาตรา 35 ระบุว่า รถที่มีความเร็วช้าหรือรถที่มีความเร็วต่ำกว่ารถคันอื่น ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ใกล้ขอบเดินรถทางซ้ายเท่าที่จะกระทำได้

หากเลนซ้ายขรุขระเป็นอย่างมาก เราจะทำอย่างไร? ต่างคนต่างก็รักรถของเรา! เพียงใช้ความเร็วในเลนขวาอย่างพอดีๆ ไม่ขับช้าจนเกินไป หมั่นมองกระจกหลังเป็นระยะ หากรถตามหลังขับเร็วกว่า ก็หลบซ้ายสักนิด เพื่อให้เขาแซงไปก่อน ซึ่งจุดนี้ต้องดูความเหมาะสมด้วย เนื่องจากกฎหมายระบุชัดว่า ช่องทางด้านขวา ใช้ได้ต่อเมื่อขับรถด้วยความเร็วสูงกว่าด้านซ้าย หรือเมื่อต้องการแซง ฉะนั้นการขับแช่เลนขวาจึงมีความผิดตามกฎหมาย อย่าลืมว่า ถนนมีไว้ใช้ร่วมกัน อาจมีผู้ที่เดือดร้อนรีบเร่งจริงๆ อยู่ก็ได้

ขอบคุณ:  www.motorexpo.co.th

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *