ใช้ชีวิตในประเทศไทย เป็นอย่างไรสำหรับคนพิการ

“ตอนผมอยู่ในช่วงอายุที่เพิ่งเริ่มทำงานใหม่ ๆ ตอนนั้นเงินเดือนแค่ 9 พันกว่าบาท ไม่มีเงินซื้อรถ ออกจากบ้านต้องนั่งแท็กซี่ไปทำงาน วันหนึ่งตีสัก 300 (บาท) คูณ 30 วัน ก็ 9 พัน เงินเดือนผมเหลือไหม นี่คือภาพความเป็นจริง”

เมื่อ มานิตย์ อินทร์พิมพ์ ชายผู้นั่งอยู่บนวีลแชร์ จากการเป็นอัมพาตครึ่งท่อน ย้อนนึกถึงประสบการณ์การเดินทาง ในช่วงที่กรุงเทพฯ ยังไม่มีขนส่งมวลชนอย่างรถไฟฟ้าหลายสิบปีที่แล้ว เขาอธิบายถึงภาวะการดำเนินชีวิตว่า “ต้องกระเสือกกระสน” และ “ใช้ความอึดของตัวเอง”

สองสิ่งที่ว่าคือ สิ่งที่มานิตย์บอกว่า คนพิการในไทยอย่างเขา ต้องพยายามดิ้นรนให้ตัวเองกระโดดขึ้นมามีคุณภาพชีวิตทัดเทียมกับคนอื่น

“จะเห็นว่าคนพิการในประเทศ มันเป็นภาพที่ไม่สวยงามเลย คนพิการไม่มีความรู้ คนพิการไม่มีงานทำ คนพิการต้องมานั่งขอทาน ถ้าเราสร้างคนพิการให้เดินทางได้ คนพิการก็จะสามารถพัฒนาเองได้”

ตอนนี้ มานิตย์อยู่ในวัย 51 ปี เขาเป็นที่ปรึกษาไอทีอิสระ และเดินทางโดยการขับรถที่ดัดแปลงเกียร์เพื่อให้คนพิการขับได้ ทว่าประสบการณ์อันยากลำบากที่ผ่านมาทำให้เขากลายมาเป็นนักกิจกรรมเพื่อสิทธิคนพิการในการเข้าถึงขนส่งมวลชน เพื่อร่วมให้ข้อมูลแก่สาธารณะ และภาครัฐในการปรับปรุงขนส่งสาธารณะเพื่อให้คนพิการเข้าถึงและใช้ประโยชน์อย่างเท่าเทียม

แต่นี่เป็นเพียงส่วนเดียวที่คนพิการในไทยต้องเผชิญ แม้ประเทศไทยจะมีแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติมาแล้วเป็นฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2560-2564) แต่ว่าชีวิตของคนพิการในหลายส่วนของประเทศยังห่างไกลคำว่า มีคุณภาพชีวิตที่ดี

ทั้งนี้ สำหรับผู้พิการที่ต้องการความช่วยเหลือสามารถใช้โทรสายด่วน 1479 คนพิการประชารัฐ ที่ให้บริการตลอด 24 ชม. หรือรายละเอียดที่ www.1479hotline.org เพื่อเป็นการช่วยเหลือคนพิการที่อยู่ในความดูแลของมูลนิธิฯ ผู้มีจิตศรัทธาสามารถช่วยบริจาคเงินได้ที่ธนาคารกรุงเทพ สาขาบางละมุง ชื่อบัญชี มูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ เลขที่บัญชี : 342-3-04066-0 นำใบเสร็จสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ โทร. 0-2572-4042 ต่อ 8100 มือถือ 09-9394-4795

ขอขอบคุณข่าวสารจาก https://www.bbc.com/thai/thailand-45924846

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *