สาระน่ารู้ เรื่อง คนพิการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

คนพิการที่กำหนดตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.2534 หรือคนพิการที่มีความจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพที่มีระดับความพิการอยู่ในเกณฑ์ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด และได้รับการลงทะเบียน ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า จะได้รับ “บัตรทอง ท.74”(สำหรับคนพิการ)

คนพิการที่ได้รับสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพ

คนพิการที่ยังไม่ได้รับความคุ้มครองจากกองทุนสุขภาพอื่น เช่น  สิทธิข้าราชการ, ประกันสังคม, รัฐวิสาหกิจ, กองทุนอื่นๆ ที่รัฐจัดให้

ทำอย่างไรจึงจะมีบัตรหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า(บัตรทอง ท.74)

พื้นที่ต่างจังหวัดสามารถลงทะเบียนได้ที่สถานีอนามัยหรือโรงพยาบาลของรัฐใกล้บ้าน

กรุงเทพมหานคร สามารถลงทะเบียนได้ที่สำนักงานเขตทุกเขต ตามที่ระบุในทะเบียนบ้าน กรณีที่คนพิการไม่สามารถลงทะเบียนได้ด้วยตนเอง ผู้ปกครองสามารถรับมอบอำนาจให้ดำเนินการแทนได้

การทำบัตรหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า(บัตรทอง ท.74)

–   สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้ สำหรับเด็กที่อายุต่ำกว่า 15 ปี ให้ใช้สำเนาใบสูติบัตร หรือใบเกิดเป็นหลักฐานการลงทะเบียน

–   สมุดประจำตัวคนพิการ หรือเอกสารรับรองการตรวจประเมินความพิการจากแพทย์ (สามารถใช้สมุดประจำตัวคนพิการแทนบัตรประชาชนได้)

–   สำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อของตนอยู่

สิทธิของคนพิการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

  1. สิทธิประโยชน์หลัก ได้แก่ บริการขั้นพื้นฐานทางการแพทย์ รวมไปถึงบริการส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมโรค การป้องกันโรค การตรวจ การวินิจฉัย และการรักษาพยาบาล โดยสามารถรับบริการได้ที่สถานีอนามัย ศูนย์บริการสาธารณสุข โรงพยาบาลของรัฐทุกแห่งและโรงพยาบาลเอกชนที่เป็นหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพ
  2. สิทธิเฉพาะสำหรับคนพิการ ได้แก่ สิทธิยกเว้นค่าธรรมเนียม 30 บาท ต่อการเข้ารับบริการทุกครั้ง สิทธิได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งในและนอกหน่วยบริการ ได้แก่ กายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด การประเมิน/แก้ไขการพูด จิตบำบัด พฤติกรรมบำบัด การฟื้นฟูการได้ยิน การฟื้นฟูการมองเห็น การรับกายอุปกรณ์เครื่องช่วยตามประเภทความพิการ และการพัฒนาศักยภาพในรูปแบบอื่นๆ

ทำอย่างไรเมื่อต้องการใช้สิทธิ

–  เมื่อเจ็บป่วยควรเข้ารักษา ณ โรงพยาบาลที่ระบุอยู่ในบัตรหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หากเป็นกรณีเร่งด่วนฉุกเฉิน สามารถเข้ารับการรักษาได้ทุกโรงพยาบาลของรัฐ และสถานบริการที่เข้าร่วมโครงการ

–  แจ้งเจ้าหน้าที่ทุกครั้ง เมื่อต้องการใช้สิทธิบัตรหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

–   แสดงบัตรหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พร้อมสมุดประจำตัวคนพิการทุกครั้งที่ใช้สิทธิ

สิทธิด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพในระบบหลักประกันสุขภาพ

–  สามารถเข้ารับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพ ตามประเภทบริการ ณ หน่วยบริการของรัฐ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

–  สามารถได้รับกายอุปกรณ์ เครื่องช่วยความพิการ โดยติดต่อขอรับได้จากโรงพยาบาลที่ระบุในบัตรหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

งานฟื้นฟูฯคนพิการ

นอกจากนี้ ยังสามารถไปรับอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการได้ที่ศูนย์สาธิตอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการ 11แห่ง ได้แก่

  1. สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ.
  2. รพ.พุทธชินราช
  3. รพ.ศูนย์ราชบุรี
  4. รพ.แพร่
  5. รพ.พระปกเกล้า จันทบุรี
  6. รพ.ลำปาง

7.รพ.สรรพสิทธิประสงค์

  1. รพ.สงขลา

9.รพ.นครราชสีมา

10.รพ.นครพิงค์เชียงใหม่

  1. รพ.มหาราชนครศรีธรรมราช

– โครงการจัดตั้งศูนย์พัฒนาระบบริการสุขภาพคนพิการแบบครบวงจร โดยมุ่งหวังให้คนพิการสามารถเข้ารับบริการสุขภาพและการฟื้นฟูสมรรถภาพได้อย่างทั่วถึงมากขึ้น ทาง สปสช. จึงดำเนินการให้จัดตั้งศูนย์ดังกล่าว จำนวน 22 แห่ง เพื่อเป็นการนำร่องการพัฒนาระบบบริการสุขภาพและการฟื้นฟูฯ ในพื้นที่ ได้แก่

  1. โรงพยาบาลเชียงกลาง
  2. โรงพยาบาลหล่มสัก
  3. โรงพยาบาลแม่ลาว
  4. โรงพยาบาลบางกระทุ่ม
  5. โรงพยาบาลลับแล
  6. โรงพยาบาลตาคลี
  7. โรงพยาบาลนางรอง
  8. โรงพยาบาลปทุมราชวงศา
  9. โรงพยาบาลเสลภูมิ
  10. โรงพยาบาลภูกระดึง
  11. โรงพยาบาลกมลาไสย
  12. โรงพยาบาลวานรนิวาส
  13. โรงพยาบาลแก่งคอย
  14. โรงพยาบาลเดิมบางนางบวช
  15. โรงพยาบาลอรัญประเทศ
  16. โรงพยาบาลเทพา
  17. โรงพยาบาลหัวไทร
  18. โรงพยาบาลกระสัง
  19. โรงพยาบาลกุฉินนารายณ์
  20. โรงพยาบาลกงไกรลาส
  21. โรงพยาบาลท่าหลวง
  22. โรงพยาบาลฉวาง

 

 

 

 

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *