ยื่นคำร้องขอกู้ยืมเงินฉุกเฉินเพื่อประกอบอาชีพ (คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการ)

 

รายละเอียด

– วงเงินกู้รายละไม่เกิน 10,000 บาท โดยไม่มีดอกเบี้ย

– ไม่ต้องมีผู้ค้ำประกัน

– เปิดให้บริการยื่นกู้ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2564

 

คุณสมบัติผู้กู้

– มีบัตรคนพิการหรือเป็นผู้ดูแลคนพิการ

– ต้องบรรลุนิติภาวะ (อายุ 20 ปีขึ้นไป)

– มีถิ่นที่อยู่อาศัยแน่นอนไม่น้อยกว่า 90 วัน และมีสถานที่ประกอบอาชีพอยู่ในท้องที่ที่ยื่นกู้ สามารถติดต่อได้

– ประกอบอาชีพอิสระที่มีรายได้เดือนละไม่เกิน 30,000 บาท

– ต้องไม่มีประวัติเสียหาย ไม่มีหนี้ค้างกับกองทุน หรือชำระหนี้คืนกองทุนมาแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ 60

ของวงเงินกู้ทั้งหมด และเมื่อได้รับการอนุมัติแล้วต้องชำระหนี้สินที่มีอยู่เดิมทั้งหมด

– ต้องได้รับผลกระทบจาก COVID-19

 

เอกสารใช้ในการขอกู้

– บัตรประจำตัวประชาชน และบัตรประจำตัวคนพิการ (สำเนา/ตัวจริง)

– ทะเบียนบ้าน (สำเนา/ตัวจริง)

– รายละเอียด/วัตถุประสงค์ในการขอกู้ยืมเงิน

– แผนที่เดินทางไปที่อยู่อาศัยประจำ และสถานที่ประกอบอาชีพ โดยละเอียดอย่างละ 1 แผ่น

– สัญญาเช่าหรือหนังสือรับรองการอยู่อาศัยในกรณีไม่มีชื่ออยู่ในภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้านในท้องที่

ที่ยื่นคำขอกู้ยืม

– สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ (ระบุชื่อผู้ขอกู้)

** กรณีที่ผู้ดูแลคนพิการใช้สิทธิ์ในการขอกู้ยืมเงินแทนคนพิการ ต้องแสดงหลักฐานการเป็นผู้ดูแลคนพิการ เช่น

– ชื่อผู้ดูแลที่อยู่บนบัตรคนพิการ หรือ

– หนังสือรับรองการเป็นผู้ดูแลหรืออุปการะคนพิการ

– เอกสารใบรับรองความเห็นของแพทย์ของคนพิการที่มีสภาพถึงขั้นไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้

ต้องดูแลและอุปการะคนพิการมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน

 

หมายเหตุ : สำหรับการยื่นเอกสารประกอบการพิจารณา ผู้ขอกู้ยืมเงินสามารถยื่นเอกสารดังกล่าว ภายหลังจากการลงทะเบียนและการประเมินเกณฑ์เบื้องต้นว่า ผ่านการพิจารณาโดยสามารถยื่นเอกสารดังกล่าวได้ ในพื้นที่ที่ยื่นขอกู้ในระบบ

 

การพิจารณา

– การพิจารณาเป็นไปตามระเบียบฯ และหลักเกณฑ์ เงื่อนไข ที่กรมกำหนด

– หากข้อมูลของท่านไม่ถูกต้อง/ไม่ครบถ้วน จะไม่ได้รับการพิจารณา

 

ลงทะเบียนได้ที่ efund.dep.go.th

 

รายละเอียดเพิ่มเติม 02-106-9300 , 02-106-9337 ถึง 40 (ในเวลาทำการ) หรือสายด่วน 1479 (ตลอด 24 ชั่วโมง) หรือ Facebook กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

 

 

ขอขอบคุณ  http://dfund.dep.go.th/Content/View/6967

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *