ด้านอาชีพและรายได้

[vc_row][vc_column][vc_toggle title=”การปฏิบัติตามกฎหมาย เรื่องการจ้างงานคนพิการ”]ด้วยพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550  มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ซึ่งมีบทบัญญัติเพื่อกำหนดมาตรการสำคัญเกี่ยวกับการส่งเสริมอาชีพและคุ้มครองการมีงานทำของคนพิการ เพื่อให้คนพิการได้มีโอกาสใช้ความสามารถ มีรายได้ และพึ่งพาตนเองได้ และลดภาระของครอบครัวและสังคมที่ต้องให้การอุปการะเลี้ยงดู รวมทั้งเป็นการส่งเสริมให้คนพิการเป็นพลังสำคัญในการเสริมสร้างทางเศรษฐกิจของครอบครัวและประเทศต่อไป จึงกำหนดวิธีการเพื่อให้คนพิการได้มีการประกอบอาชีพไว้ 3 กรณี คือ 1. รับคนพิการเขาทำงานตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 2. ส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ตามมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 3. ให้สัมปทานจัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556

สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ขอชี้แจงแนวปฏิบัติตามกฎหมายในการจ้างงานคนพิการ ดังนี้

1. การกำหนดอัตราส่วนในการจ้างคนพิการ

ให้นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการนับจำนวนลูกจ้างที่มิใช่คนพิการทุกสาขารวมกัน  ณ วันที่ 1 ตุลาคม ของทุกปี เพื่อคำนวณจำนวนคนพิการที่ต้องรับเข้าทำงานในอัตราส่วนลูกจ้างที่มิใช่คนพิการทุก 100 คน ต่อคนพิการ 1 คน เศษของ100 คน ถ้าเกิน 50 คน ต้องรับคนพิการเพิ่มอีก 1 คน ทั้งนี้ในกรณีนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการที่มีสำนักงานสาขาให้นับจำนวนลูกจ้างรวมทุกสาขาเข้ากับสำนักงานใหญ่ของนิติบุคคลด้วย

2. การปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมาย

ในระหว่างวันที่ 1 ตุลาคมของปีนั้น ถึงวันที่ 31 ธันวาคมของปี ให้นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการพิจารณาเลือกวิธีการปฏิบัติ ดังนี้

2.1 จ้างงานคนพิการตามมาตรา 33 ให้นายจ้างหรือสถานประกอบการส่งสำเนาสมุดประจำตัวคนพิการ หรือสำเนาบัตรประจำตัวคนพิการ โดยให้คนพิการลงลายมือชื่อรับรองเอกสาร ส่งสำเนาสัญญาจ้างซึ่งมีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี และส่งสำเนาสปส.1-10 ส่วนที่ 2 ที่ระบุชื่อคนพิการของเดือนที่รายงาน มาพร้อมแบบรายงานการปฏิบัติตามกฎหมายในการจ้างงานคนพิการ

2.2 จ่ายเงินเข้ากองทุนตามมาตรา 34 ให้ส่งเงินเข้ากองทุนเป็นรายปีโดยคำนวณจากอัตราต่ำสุดของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานที่ใช้บังคับครั้งหลังสุดในปีก่อนปีที่มีหน้าที่ส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการคูณด้วยสามร้อยหกสิบห้าและคูณด้วยจำนวนคนพิการที่ไม่ได้รับเข้าทำงาน (ให้ใช้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ วันละ 300 บาท) โดยส่งเป็นเงินสด เช็คขีดคร่อม หรือธนาณัติสั่งจ่าย ”กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ” และให้ส่งถึงสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติที่สำนักงานใหญ่ของสถานประกอบตั้งอยู่ ภายในวันที่ 31 มกราคม 2557

2.3 การจัดให้สัมปทานตามมาตรา 35 หรือจัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการ จัดจ้างเหมาช่วงงานหรือจ้างเหมาบริการโดยวิธีกรณีพิเศษ ฝึกงาน หรือจัดให้มีอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวก ล่ามภาษามือ หรือให้การช่วยเหลืออื่นใดแก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการตามมาตรา 35 ต้องยื่นหนังสือขอใช้สิทธิต่อสำนักงานจัดหางานจังหวัด หรือสำนักงานจัดหางานกรุงเทพเขตพื้นที่ซึ่งเป็นที่ตั้งของพื้นที่ดำเนินการ และให้ส่งเอกสารตามแบบที่กรมการจัดหางานกำหนด โดยส่งสำเนาสัญญาระหว่างนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการกับคนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการ  รวมทั้งส่งสำเนาบัตรประจำตัวคนพิการ หรือสำเนาบัตรประจำตัวผู้ดูแลคนพิการ มาพร้อมแบบรายงานการปฏิบัติตามกฎหมายในการจ้างงานคนพิการ

3. การรายงาน

ให้นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการรายงานผลการปฏิบัติตามข้อ 2 ต่อผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ที่สำนักงานใหญ่ของสถานประกอบการตั้งอยู่ ภายในวันที่ 31 มีนาคม ของทุกปี โดยแบบรายงานการปฏิบัติตามกฎหมายการจ้างงานคนพิการ ต้องมีลายมือชื่อของผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคลตามกฎหมายพร้อมส่งสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล[/vc_toggle][vc_toggle title=”นับจำนวนลูกจ้างเพื่อคำนวณจำนวนคนพิการที่ต้องรับเข้าทำงาน”]ให้นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการหรือโรงเรียนเอกชน และหน่วยงานภาครัฐ นับจำนวน

ลูกจ้างทุกคนที่ปฏิบัติงานอยู่จริง (ไม่นับลูกจ้างที่เป็นคนพิการ) ณ วันที่ ๑ ตุลาคม โดยให้นับลูกจ้างที่

ปฏิบัติงานอยู่ที่สำนักงานใหญ่และทุกสาขาทั่วประเทศ (ถ้ามี) รวมเข้าด้วยกันและคำนวณตามอัตราส่วนลูกจ้าง

ทุก ๑๐๐ คนต่อคนพิการ ๑ คน (๑๐๐:๑) เศษของ ๑๐๐ คน ถ้าเกิน ๕๐ คนต้องรับคนพิการเพิ่มอีก ๑ คน[/vc_toggle][vc_toggle title=”ถ้าคนพิการจะขอให้สิทธิตามตรา 35 ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง”]

กรณีคนพิการขอใช้สิทธิเอง มีเอกสารดังนี้ – สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน – สมุด/บัตร ประจำตัวคนพิการ – สำเนาทะเบียนบ้าน – รูปถ่ายคนพิการขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป

[/vc_toggle][vc_toggle title=”ถ้าคนพิการจะขอให้สิทธิตามตรา 33 ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง”]

กรณีคนพิการขอใช้สิทธิเอง มีเอกสารดังนี้ – สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน – สมุด/บัตร ประจำตัวคนพิการ – สำเนาทะเบียนบ้าน – รูปถ่ายคนพิการขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป

[/vc_toggle][vc_toggle title=”ถ้าผู้ดูแลคนพิการจะขอให้สิทธิตามมาตรา 35 แทนคนพิการต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง”]กรณีผู้ดูแลคนพิการขอใช้สิทธิแทน มีเอกสารดังนี้ – สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของคนพิการ และผู้ใช้สิทธิแทน – สมุด/บัตร ประจำตัวคนพิการ – สำเนาทะเบียนบ้านของคนพิการและผู้ดูและผู้ใช้สิทธิแทน – รูปถ่ายคนพิการขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป

*หมายเหตุ ผู้ใช้สิทธิแทน ต้องมีชื่อของผู้ดูแลตรงกับข้อมูลในสมุด/บัตรประจำตัวคนพิการ  [/vc_toggle][vc_toggle title=”หลักเกณฑ์การให้กู้ยืมเงินกองทุน”]การให้บริการกู้ยืมเงิน เป็นการบริการคนพิการ และผู้ดูแลคนพิการเพื่อเป็นทุนประกอบอาชีพหรือขยายกิจการ รายบุคคลรายละไม่เกิน 60,000 บาท รายกลุ่ม กลุ่มละไม่เกิน 1 ล้านบาท ผ่อนชำระภายในระยะเวลาไม่
เกิน 5 ปี โดยไม่คิดดอกเบี้ย ทั้งนี้ หากมีผู้ประสงค์จะกู้ยืมเงินเกินกว่าวงเงินที่กำหนด ให้มีการพิจารณาเป็นราย ๆ
ไป โดยไม่เกิน 120,000 บาท[/vc_toggle][vc_toggle title=”คุณสมบัติของผู้ยืมเงินกองทุน ฯ”]1. มีบัตรประจำตัวคนพิการ
2. มีความจำเป็นในการขอรับการสนับสนุนเงินกู้ยืมเพื่อประกอบอาชีพในท้องที่ที่ยื่นคำขอ
3. มีความสามารถในการประกอบอาชีพในเรื่องที่ขอรับการสนับสนุน
4. บรรลุนิติภาวะ
5. มีชื่อในทะเบียนบ้าน หรือถิ่นที่อยู่ถาวรในท้องที่ที่ยื่นคำขอกู้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน
6. ไม่มีประวัติเสียหายในการกู้ยืมเงินจากกองทุน เว้นแต่ได้ดำเนินการแก้ไขมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
7. กรณีมีหนี้สินอยู่กับกองทุนต้องได้ชำระหนี้มาแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบของวงเงินกู้ยืมทั้งหมดและ
เมื่อได้การอนุมัติแล้วต้องชำระหนี้สินที่มีอยู่เดิมทั้งหมด
8. ความสามารถชำระคืนเงินกู้ยืมได้และมีบุคคลที่น่าเชื่อถือได้เป็นผู้ค้ำประกัน[/vc_toggle][vc_toggle title=”คุณสมบัติของผู้ดูแลคนพิการ”]1. มีความจำเป็นในการขอรับการสนับสนุนเงินกู้ยืมเงินเพื่อประกอบอาชีพในท้องที่ที่ยื่นคำขอ
2. มีความสามารถในการประกอบอาชีพในเรื่องที่ขอรับการสนับสนุน
3. บรรลุนิติภาวะ
4. มีชื่อในทะเบียนบ้าน หรือถิ่นที่อยู่ถาวรในท้องที่ที่ยื่นคำขอกู้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน
5. ไม่มีประวัติเสียหายในการกู้ยืมเงินจากกองทุน เว้นแต่ได้ดำเนินการแก้ไขมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
6. กรณีมีหนี้สินอยู่กับกองทุนต้องได้ชำระหนี้มาแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบของวงเงินกู้ยืมทั้งหมดและ
เมื่อได้การอนุมัติแล้วต้องชำระหนี้สินที่มีอยู่เดิมทั้งหมด
7. ความสามารถชำระคืนเงินกู้ยืมได้และมีบุคคลที่น่าเชื่อถือได้เป็นผู้ค้ำประกัน
8. ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
9. ได้รับการรับรองเป็นหนังสือจากผู้แทนองค์กรด้านคนพิการกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้บริหารองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ผู้นั้นมีภูมิลำเนา ข้าราชการระดับ 3 หรือเทียบเท่าขึ้นไป หรือมีหลักฐานเชื่อ
ได้ว่าเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการซึ่งมิได้มีหนี้สินจากกองทุน[/vc_toggle][vc_toggle title=”หลักเกณฑ์การให้กู้ยืมเงินกองทุน”]การให้บริการกู้ยืมเงิน เป็นการบริการคนพิการ และผู้ดูแลคนพิการเพื่อเป็นทุนประกอบอาชีพหรือขยายกิจการ รายบุคคลรายละไม่เกิน 60,000 บาท รายกลุ่ม กลุ่มละไม่เกิน 1 ล้านบาท ผ่อนชำระภายในระยะเวลาไม่
เกิน 5 ปี โดยไม่คิดดอกเบี้ย ทั้งนี้ หากมีผู้ประสงค์จะกู้ยืมเงินเกินกว่าวงเงินที่กำหนด ให้มีการพิจารณาเป็นราย ๆ
ไป โดยไม่เกิน 120,000 บาท[/vc_toggle][/vc_column][/vc_row]